ReadyPlanet.com


การตรวจสอบ โคโรน่า (Corona Detection) ในระบบไฟฟ้าแรงสูง (2)


วิธีการตรวจหา Corona ที่ใช้กันทั่วไปคือ

1. การดูแสงเรืองของอุลตร้าไวโอเลตในเวลามืดสนิท
2. การฟังเสียงซ่าของจุดที่มี corona
3. การใช้วิทยุย่าน   AM จูนหาสัญญาณ   RIV   ในบริเวณกว้าง
4. การใช้กล้องที่ทำงานในย่านความถี่อุลตร้าไวโอเลตมาจับภาพ

Corona นี้ขยายตัวไปตามเวลา สร้างความเสียหายให้กับ อุปกรณ์ High Voltage จนกระทั่งเกิดการ Breakdown ไปในที่สุดในประเทศไทยมีหน่วยงานราชการบางหน่วยต้องตรวจสอบ corona เป็นประจำ เพื่อป้องกันความเสียหายร้ายแรง โดยวิธีตรวจสอบที่ใช้คือ:

1. Equivalent Salt Deposit Density (ESDD) ซึ่งใช้วิธีวัดค่าความนำไฟฟ้าต่อพื้นที่ของอุปกรณ์ที่มีปัญหา เช่น ลูกถ้วย ซึ่งปรกติ มีความลำบากในการทดสอบมากและผลที่ได้เป็นเพียงการสุ่มตัวอย่างเท่านั้น

2. การจ่าย AC High Voltage ให้อุปกรณ์ทดสอบโดยตรง ณ สถานที่จริง วิธีนี้เป็นวิธีที่ให้ผลการตรวจสอบที่เที่ยงตรงมากมีความน่าเชื่อถือสูงแต่มีข้อเสียคือ การลงทุนแต่ละจุดจะสูงเช่นกัน ไม่เหมาะที่จะติดตั้งตายตัวเพราะต้องมีอุปกรณ์ช่วย เช่น Data Logger,  Voltmeter, MicroAmmeter   ประจำอยู่ด้วย

3. การใช้กล้อง VDO ที่ทำงานในย่านความถี่อุลตร้าไวโอเลตมาจับภาพการเกิด  corona  วิธีนี้เป็นวิธีล่าสุดที่ใช้กันในกลุ่มประเทศที่มีปัญหาเรื่อง  corona  การลงทุนในส่วนของตัวกล้องสูงมากแต่ผลที่ได้ถูกต้องแม่นยำ    และมีภาพนิ่งหรือ VDO   เพื่อเป็นหลักฐานตรวจสอบภายหลัง

ความถูกต้องของผลการวัด

เนื่องจากการตรวจสอบ corona ในระบบไฟฟ้าแรงสูงเป็นเรื่องที่มีผู้ศึกษาอยู่เป็นวงแคบในประเทศไทย แต่ปัญหาอันเกิดจาก corona นั้นเริ่มแผ่กระจายออกมาสู่โรงงานอุตสาหกรรมพร้อมกับปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศ    และโดยเฉพาะจะก่อปัญหากับกลุ่มโรงงานที่ตั้งติดกับสถานที่ เช่น ทะเล, บริเวณที่มีการระเบิดภูเขา, บริเวณที่เกิดฝุ่นผงของโลหะ, ถ่านหิน, สนิม กระจายตัวอยู่ เป็นต้น

ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะตรวจสอบได้ยากกว่าความเสียหายจากความร้อนเนื่องจากโคโรน่ามีการเกิดที่ไม่แน่นอนปัจจัยที่เกี่ยวข้องยากแก่การควบคุม  หรือสร้างให้เกิดขึ้นได้  ตัวอย่างคือ  ลม,      ความชื้น, มลภาวะ, การแกว่งตัวของ Voltage  จึงเห็นได้เสมอว่าระบบที่มีปัญหาเรื่อง corona มักถูกมองข้ามไปด้วยความเข้าใจผิด   หรือละเลยเพราะไม่ทราบวิธีแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการก่อสร้าง Cooling  Tower  โดยมองข้ามผลกระทบต่อ  Substation อันมีตัวอย่างให้เห็นอยู่มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ  วิธีการแก้ไขมักจะอยู่ในรูปของการเปลี่ยน   Creepage distance   ของ Insulator   หรือเปลี่ยนชนิดของ  Insulator  เป็นต้น  อย่างไรก็ตามจากการร่วมมือของทางบริษัท  กับนักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าปีที่ 4 กลุ่มหนึ่งของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และท่านผู้มีประสบการณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตหลายท่าน และสถาบันวิจัย  CSIR  ของ South Africa ตลอดเวลาที่ผ่านมาทำให้ได้รับข้อมูลใหม่ของ  corona   ในประเทศไทย   รวมถึงแนวทางการพิจารณาผลกระทบ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นและสามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติเป็นประเทศแรกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
 



ผู้ตั้งกระทู้ (DNT Research Laboratory) :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-29 13:28:37


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4298966)

 เป็นประโยชน์มากครับ

 

เว็บ Thai lotto หวยออนไลน์ จ่ายสูง  

 

ผู้แสดงความคิดเห็น DFLO (DFOOOL-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2022-03-30 18:55:20


ความคิดเห็นที่ 2 (4349206)

 เว็บพนันออนไลน์ สล็อตเว็บตรง

ผู้แสดงความคิดเห็น sexypg168 วันที่ตอบ 2022-11-29 16:59:54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.